บริการประชาชน

เมนู

ศรชล.ภาค 3 บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกตรวจพื้นที่รับผิดชอบทางทะเล

ศรชล.ภาค 3 บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกตรวจพื้นที่รับผิดชอบทางทะเล ตั้งแต่ จว.พังงา – จว.สตูล ระหว่าง 8-10 ก.ค.65 เพื่อป้องกันการการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม (IUU) และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษากฎหมายในความผิดอื่น ๆ

8 – 10 กรกฎาคม 2565 ศรชล.ภาค 3 โดย น.อ.ณฐพงษ์ เศวตรักษ ผบ.มว.เรือ ศรชล.ภาค 3 ออกปฏิบัติการลาตระเวนทางทะเลด้วย ร.ล.แหลมสิงห์ ในพื้นที่ทางทะเลฝั่งอันดามัน เพื่อป้องกันการการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม (IUU) และเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษากฎหมายในความผิดอื่นๆ โดยมุ่งเน้นไปที่ การตรวจการทำการประมงทั่วไป การตรวจการทำการประมงในพื้นที่และห้วงเวลาที่มีการประกาศห้ามทำการประมง การตรวจแรงงานภาคประมงในทะเล การลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย การลักลอบนำเข้าสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร -ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 เวลา 12.00 น. ศรชล.ภาค ๓ โดย น.อ.ณฐพงษ์ เศวตรักษ ผบ.มว.เรือ ศรชล.ภาค 3 (ผู้บังคับหมวดเรือ ศรชล.ภาค 3) ออกปฏิบัติการลาดตระเวนทางทะเล ด้วย
ร.ล.แหลมสิงห์ โดยมีวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการครั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับกฎหมายในทะเลของ ศรชล.ภาค 3 ซึ่งการปฏิบัติการครั้งนี้ กำหนดพื้นที่ในการลาดตระเวนตั้งแต่พื้นที่ทางทะเลของ จว.พังงา ไปถึง จว.สตูล มุ่งเน้นไปที่ การทำการประมงผิดกฎหมาย การทำการประมงในพื้นที่และห้วงเวลาที่มีการประกาศห้ามทำการประมง การตรวจแรงงานภาคประมงในทะเล การลักลอบขนส่งสินค้าผิดกฎหมาย การลักลอบนำเข้าสินค้ามาในราชอาณาจักรโดยไม่ผ่านพิธีการทางศุลกากร การลักลอบเข้าเมืองทางทะเลอย่างผิดกฎหมาย

  • สถานภาพด้านการทำการประมงในทะเลของไทยในปัจจุบัน EU ได้ประเมินและจัดลำดับให้ประเทศไทยอยู่ในระดับ Tear 2 Watch List หมายถึงประเทศไทยได้รับใบเตือนและมีการเฝ้าสังเกตจาก EU ว่าประเทศไทยมีการทำการประมงในทะเล ยังมีการทำการประมงอย่างผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม ซึ่งการที่ประเทศไทยอยู่ในระดับ Tear 2 Watch List นั้นได้ส่งผลกระทบต่อการส่งสิ้นค้าภาคประมงไปสู่กลุ่มประเทศ EU กล่าวคือสินค้าภาคประมงของไทยจะถูกกีดกันทางการค้าจากกลุ่มประเทศ EU นั่นเอง
  • การยกระดับสถานภาพด้านการทำการประมงของไทยจาก Tear 2 Watch List ให้มาอยู่ที่ระดับ Tear 2 (ระดับแจ้งเตือนแต่ไม่ต้องเฝ้าระวังเฝ้าสังเกต) นั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อให้ได้สิทธิ์ในการส่งสินค้าภาคประมงไปยังกลุ่มประเทศ EU อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการประมงและกิจการที่เกี่ยวข้องกับการประมงทั้งหมด
  • สิ่งที่ EU ต้องการให้ทางการไทยดำเนินการคือ การแก้ไขปัญหา IUU Fishing อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งทาง ศรชล.ภาค 3 ก็เป็น 1 ในหน่วยงานที่รัฐบาลมอบหมายให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา IUU Fishing อย่างเป็นรูปธรรม ในการนี้ ศรชล.ภาค 3 จึงได้กำหนดแผนการปฏิบัติการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายในทะเล ซึ่งจะต้องดำเนินการไปจนกว่า จะยกระดับไปอยู่ที่ Tear 2 ได้
  • การปฏิบัติการครั้งนี้ ถือว่าเป็น 1 มาตรการในการแก้ปัญหา IUU Fishing ซึ่งเป็นการบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดังนี้
    o ศรชล.ภาค 3 โดย มว.เรือ ศรชล.ภาค 3 / ศยก.ศรชล.ภาค ๓ / กสน.ฝอ.ศรชล.ภาค ๓ / กสข.ศรชล.ภาค ๓ / ศรชล.จว.ตรัง
    o ประมง
    o กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
    o กองบังคับการตำรวจน้ำ
  • ผลการปฏิบัติ ได้ทำตรวจการทำประมงในพื้นที่ห้ามทำการประมง พื้นที่ร่องน้ำกันตัง จว.ตรัง พบว่ามีการทำประมงประเภทในพื้นที่ห้ามทำการประมงจำนวนมาก เป็นการทำประมงประเภทโพงพาง จำนวนมาก ทำให้กีดขวางการจราจรทางน้ำ ในการนี้ ได้แจ้งให้ ศรช.จว.ตรัง-ประมง จว.ตรัง – ทช.ตรัง-ตรน.ตรัง ดำเนินการแก้ไขต่อไป ในส่วนของการตรวจเรือประมงในทะเล ไม่พบการกระทำความผิดใดๆ

Our Mission

ศรชล.ภาค 3

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค 3

Scan Line ID

qr code thaimecc3

เว็บไซต์นี้มีการใช้คุกกี้ (Cookies) เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งาน ท่านสามารถศึกษารายละเอียดการใช้งานการตั้งค่าคุกกี้ได้ที่ นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล